ขอบเขตของงาน (Term of Reference : TOR)

“เสริมสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ไฟฟ้า”

1.หลักการและเหตุผล ในปัจจุบัน สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เกิดปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาต่างๆที่สังคมไทยยังแก้ไม่ได้อีกมากมาย และปัญหาใหญ่ในขณะนี้ก็คือ การติดบุหรี่ของเยาวชนคนไทย ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ ก็ยังไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอันตรายต่อตนเองมากแค่ไหน เป็นการเพิ่ม อันตรายต่อตนเองและผู้อื่น จึงเป็นอีกปัญหาที่สมควรจะได้รับการแก้ไขอย่างยิ่ง ในครอบครัวมีพ่อสูบบุหรี่ เป็นบ่อเกิดแห่งการติดบุหรี่ของเยาวชนไทย ประการที่หนึ่งคือเกิดการอยากรู้อยาก เห็น อยากลองบุหรี่ซึ่งเห็นตัวอย่างมาจากผู้ปกครองที่บ้าน ประการที่สองคือการเกิดสิ่งผิดปกติของร่างกาย เพราะบุหรี่ มีสารพิษที่เรียกว่า นิโคติน ซึ่งนิโคตินเป็นสารระเหยนครวันบุหรี่ เป็นสารที่รุนแรงมากอย่างหนึ่ง ละลายน ้าได้ดี ไม่มีสี ถ้าสูบบุหรี่ 1 มวน ร่างกายจะได้รับนิโคตินในควันบุหรี่ 0.2 – 2 มิลลิกรัม หากมีอยู่ในร่างกายถึง 70 มิลลิกรัม จะท าให้ ถึงแก่ความตายได้ มีผู้ทดลองน านิโคตินบริสุทธิ์ เพียง 1 หยด ป้ายลงบนผิวหนังกระต่าย มีผลท าให้กระต่ายตัวนั้นช็อก อย่างรุนแรงและถึงแก่ความตาย แม้จะไม่ได้เข้าสู่ภายในร่างกายทางปากหรือทางลมหายใจ นิโคติน จะท าให้ไขมัน ในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง ท าให้ความดันสูง หัวใจเต้นเร็วท าลายเนื้อ ปอดและถุงลมปอดอีกด้วย และประการที่สามซึ่งก็คือการติดบุหรี่จากคุณแม่ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หากยังคงสูบบุหรี่ ในระหว่างนี้แล้ว จะก่อให้เกิดความผิดปกติทั้งต่อตัวคุณเองและเจ้าตัวน้อยๆ ที่อยู่ในท้องของคุณ ซึ่งบางรายอาจไม่มี โอกาสได้ออกมาชมโลกเหมือนเด็กคนอื่นๆ หรือออกมาแล้วพิการก็มีเยอะเหมือนกัน หากผู้ใหญ่ในครอบครัว ตระหนักถึงพิษภัยที่มาจากบุหรี่เพียงสักนิด ก็จะได้เยาวชนที่เติบโตมาเป็นเยาวชนที่ห่างไกลจากบุหรี่ได้ จากการวิจัยทางการแพทย์พบว่าในบุหรี่มีสารเคมีกว่า 4,000 ชนิด บางชนิดเป็นสารพิษที่ท าลายอวัยวะต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มจากนิโคตินมีฤทธิ์ร้ายแรงเท่ากับเฮโรอีน และยังมีทาร์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจน ไซยาไนด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และแอมโมเนีย สารพิษเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคภัยนานาชนิดกว่า 25 โรค ทา ให้ผูสู้บ บุหรี่ ทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย และเสียชีวิต ซึ่งเป็นโทษของบุหรี่ที่มีต่อตนเองในเบื้องต้น นอกจากนี้ การสูบ บุหรี่ใน ที่สาธารณะ ยังท าให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นได้รับควันพิษอีกด้วย (สถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ 2535 : 6-7)

2 ควันบุหรี่ประกอบดว้ยสารและละอองไอของสารเคมีหลายชนิด แต่ส่วนประกอบที่ส าคัญและเป็นอันตรายต่อ สุขภาพ จา แนกไดเ้ป็น 5 กลุ่มคือ 1.นิโคติน (Nicotine) 2.ทาร์ (Tar) 3.ก๊าซ (Gas) 4.ผลผลิตจากการเผาไหมข้องสารปรุงแต่ง (Additives) 5.สารกัมมันตรังสี (Radioactive Substances) การสูบบุหรี่นอกจากจะมีผลต่อผู้สูบโดยตรงแล้วยังท าให้ ผู้อื่นที่อยู่ในบรรยากาศของควันบุหรี่สูดเอาพิษจาก ควันบุหรี่เข้าไปด้วย ที่เรียกว่าการสูบบุหรี่มือสอง (Second – Hand Smoke) ท าให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เนื่องจาก ควันบุหรี่ที่ล่องลอยอยู่นั้นประกอบด้วยควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่พ่น ออกมา และควันที่ลอยจากปลายมวนบุหรี่ที่อยู่ระหว่าง การสูบ ผลจากการวิเคราะห์น ้าลาย ปัสสาวะ และเลือดของ ผู้คน สามารถพิสูจน์ได้ว่า การหายใจเอาควันบุหรี่ในอากาศ รอบตัวโดยไม่ได้สูบบุหรี่ท าให้ได้รับสารพิษจากควันบุหรี่ เข้าสู่ร่างกายได้ (เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องการ คุ้มครองสิทธิ์และสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ 2533 : 9) นอกจากบุหรี่แลว้ ยงัมีบุหรี่ไฟฟ้า ซ่ึงเป็นยาสูบแบบใหม่ที่จะใช้หลักการระเหยของสารนิโคตินเหลวด้วยความ ร้อนจากไฟฟ้า ไม่ใช่การเผาไหม้เหมือนกับบุหรี่แบบทั่วไป และเนื่องจากไม่มีการเผาไหมใ้บยาสูบ จึงทา ให้ความ รุนแรงอยู่ระดับที่ต ่ากว่าและไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างมากนัก ส าหรับส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า ก็จะมีแบตเตอรี่ สารนิโคติน และสารอื่นๆ เช่น แอลกอฮอล์ โพพีลีนและ สารให้กลิ่นรสชาติ เป็นต้น ซึ่งอยู่ในสัดส่วนที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพมากเหมือนบุหรี่ธรรมดานั่นเอง ปัจจุบัน สามารถพบเห็นบุหรี่ไฟฟ้าตามสถานที่ต่าง ๆ กันมากขึ้น ผู้สูบอ้างว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ มีส่วนผสมส าคัญ คือ นิโคตินและสารให้กลิ่น ผู้เชี่ยวชาญบางท่านกล่าวอ้างว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้คนไข้เลิกบุหรี่ได้ถึง ร้อยละ 81 แต่แน่นอนว่า แพทย์จากหลายส านักออกมาโต้แย้งกับค ากล่าวอ้างดังกล่าว กล่าวคือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน โรคปอดมองว่า นิโคตินเหลวที่บรรจุอยู่ภายในนั้นมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ หลอดเลือดในร่างกายจะ บีบตัว เลือดจึงส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ อวัยวะขาดออกซิเจน รวมไปถึงมีผลเสียต่อการผ่าตัด เนื่องจากแผลจะติดเชื้อง่ายขึ้น และอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่นไทย เหตุเพราะรูปลักษณ์และ องค์ประกอบที่ดึงดูดใจให้วัยรุ่นหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้า และเกิดกระแสการเลียนแบบในกลุ่มเพื่อนอย่างรวดเร็ว ทางกรม ควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยคนเลิกสูบบุหรี่ได้ ที่ส าคัญในบุหรี่ไฟฟ้าก็มี สารพิษต่างๆ โดยเฉพาะสารนิโคตินเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ปกติทั่วไป ซึ่งมีอันตรายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เหมือนกัน ทั้งนี้ ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อสูดเข้าสู่ปอดแล้ว ไม่ใช่มีเพียงไอน ้ากับสารนิโคตินเท่านั้น แต่ยังมีสารเคมีอีก มากมายที่ใชใ้นขบวนการผลิตและปรุงแต่งกลิ่น รส และสารเคมีหลายชนิดเป็นอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งมี สารก่อมะเร็งด้วย นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นจุดเริ่มต้นในการเสพติดบุหรี่หรือสารเสพติดประเภทอื่นๆ ในเด็กและเยาวชนดว้ย

3 จากผลสำรวจการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทย อายุ 13-15 ปี ครั้งล่าสุดในปี 2558 ส ารวจพบว่าเยาวชนชายสูบ บุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 4.7 และเยาวชนหญิงสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 1.9 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้รัฐบาลปัจจุบัน จึงออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2557 เรื่อง ก าหนดให้บารากู่ บารากู่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าเป็น สินคา้ตอ้งหา้มในการนา เขา้มาในราชอาณาจกัร พ.ศ.2557 ซ่ึงหากมีผฝู้่าฝืนนา เขา้บุหรี่ไฟฟ้าเขา้มายงัประเทศไทย จะมี โทษจ าคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจ าทั้งปรับ และให้ริบสินค้าเหล่านั้นรวมถึงพาหนะที่ ใช้บรรทุกสินค้านั้นด้วย และค าสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 9/2558 ห้ามขาย หรือห้ามให้บริการสินค้า บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น ้ายาส าหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีโทษส าหรับ ผู้ขาย ผู้ให้บริการ โดยจ าคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ และหากผู้ฝ่าฝืนเป็นผู้ผลิต ผู้สั่ง ผู้น าเข้าเพื่อขาย จะมีโทษจ าคุกไม่เกิน 10ปี ปรับไม่เกิน 1ล้านบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ ประเทศไทย ได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกในการควบคุมยาสูบของ ประเทศ และเสริมพลังความเข้มแข็งให้กับมาตรการต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันใช้แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบ แห่งชาติ ฉบบัที่สอง พ.ศ.2559–2562 โดยสถานการณ์การบริโภคยาสูบในประเทศไทยล่าสุด ปี 2559 พบว่าประชากร ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป มีจ านวน 54.8 ล้านคน สูบบุหรี่ร้อยละ 19.9 ซึ่งเป้าหมายในการด าเนินงานปี 2560-2564 นี้ ความ ชุกของการสูบบุหรี่ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปต้องไม่เกินร้อยละ 16 หรือไม่เกิน 8.8 ล้านคน เพื่อให้อัตราการ บริโภคยาสูบภาพรวมของประเทศไทยมีสถิติลดลงอย่างต่อเนื่อง

2.วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและค่านิยม ให้เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ไฟฟ้า
2.2 เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชน ถึงผลกระทบระยะสั้น และระยะยาว ของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ไฟฟ้า ต่อสุขภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่าย ค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนไปคือการสูบบุหรี่มิใช่ความโก้เก๋อีกต่อไป
2.3 เพื่อฝึกทักษะให้เยาวชนรู้วิธีการปฎิเสธสิ่งยั่วยุทางสังคม 2.4 เพื่อสร้างกระแสและสร้างความตระหนักให้กับเยาวชนที่สูบบุหรี่ สมัครเข้าร่วมโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชัน

3.ขอบเขตการดำเนินงาน
3.1 ติดต่อประสานงานโรงเรียนต่างๆ เพื่อร่วมจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนอย่างน้อย 12 โรงเรียน
3.2 ติดต่อประสานงานคลินิกฟ้าใสใกล้เคียงโรงเรียนที่จะจัดกิจกรรม เพื่อร่วมคัดกรองนักเรียนที่สูบบุหรี่ และ ติดตาม บำบัดรักษาอย่างน้อย 6 เดือน
3.3 เชิญศิลปินดาราปลอดบุหรี่เข้าร่วมกิจกรรม
3.4 เชิญวิทยากรด้านต่างๆ (จากภาคีเครือข่ายบุหรี่)
3.5 จดัเตรียมอุปกรณ์เครื่องเสียงหรือเครื่องดนตรีสา หรับการแสดงมินิคอนเสิร์ต
3.6 จัดเตรียมอุปกรณ์กีฬาส าหรับการแข่งขัน
3.7 จัดกิจกรรมภายในโรงเรียน
1. ครูประจำชั้นพานกัเรียนเขา้หอ้งประชุม
2. วทิยากรนาเกม เพื่อละลายพฤติกรรมนกัเรียน
3. วทิยากรใหค้วามรู้ถึงผลกระทบระยะสั้น และระยะยาว ของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ไฟฟ้า ต่อสุขภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่าย ค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนไปคือการสูบบุหรี่มิใช่ความโก้เก๋อีกต่อไป ฝึกทักษะให้รู้วิธีการปฎิเสธสิ่งยั่วยุทางสังคม
ประชาสัมพนัธ์โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชัน และเชิญชวนผู้ปกครองนักเรียนที่มาร่วมงานซึ่งสูบบุหรี่ เข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่ และผู้ปกครองสามารถขอค าปรึกษาจากคลินิกฟ้าที่มาร่วมกิจกรรมได้

4. กิจกรรมให้ความรู้อื่นๆ เช่น เรื่องการผายปอด และการทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation) หรือเรื่องเดินตามรอยพ่อด้วยความพอเพียง ขณะที่กิจกรรมในห้องประชุมใหญ่ดำเนินไปนั้นครูฝ่ายปกครองพานกัเรียนที่สูบบุหรี่ และนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงแยกตัวออกไปยังห้องย่อย – วิทยากรบรรยายาถึงผลกระทบ ของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ไฟฟ้า พูดชัดชักจูงให้เลิกบุหรี่ และแนะนำพยาบาลจากคลินิกฟ้าใสให้รู้จัก
– พยาบาลพูดแนะนำถึงวิธีการเลิกบุหรี่ในเบื้องต้น และรายละเอียดต่างๆที่ ผู้เลิกบุหรี่ควรรู้
– พยาบาลใหน้กัเรียนจดัแถวเพื่อรับการตรวจวดัปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอด เพื่อจำแนกความหนักเบาของอาการติดบุหรี่ พร้อมทำทะเบียนประวัติเพื่อติดตามต่อไป และกรอกใบสมัครเข้าร่วมโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชัน

5. ช่วงบ่ายเป็นมินิคอนเสิร์ตโดยศิลปินดาราปลอดบุหรี่สร้างความบันเทิงพร้อมย้ำเตือนเรื่องพิษภัยบุหรี่ และตอกย้ำไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยว

3.8 คลินิกฟ้าใสติดตามผล นกัเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชัน อย่างน้อย 6 เดือน และรายงานผลต่อสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ทราบเป็นระยะ

4.ระยะเวลาการดำเนินงาน ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562

5.คุณสมบัติของผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคาต้อมีประสบการณ์ในการดำเนินงานดา้นการจัดกิจกรรมด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ และมีความเข้าใจถึงการประเมินผลงานโครงการของ สสส